KMUTT Digital Repository

ความสามารถของคลื่นเสียงความถี่สูงในการทดสอบรอยเชื่อมโลหะต่างชนิด

Show simple item record

dc.contributor.author ใหม่ น้อยพิทักษ์
dc.date.accessioned 2022-04-26T08:52:49Z
dc.date.available 2022-04-26T08:52:49Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri https://modps76.lib.kmutt.ac.th/xmlui//handle/123456789/3820
dc.description.abstract วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือ เพื่อศึกษาลักษณะโครงสร้างทางจุลภาคของแนวหลอมละลายและพื้นที่ หลอมละลายในงานเชื่อมโลหะต่างชนิดระหว่างเหล็กกล้าคาร์บอน และเหล็กกล้าไร้สนิม ที่ส่งผลต่อ ความสามารถในทดสอบด้วยวิธีคลื่นเสียงความถี่สูง และคลื่นเสียงความถี่สูงแบบจัดเรียงเฟส การ ทดลองใช้วัสดุเหล็กกล้าคาร์บอนเกรด A516 และเหล็กกล้าไร้สนิมเกรด 316 มาอบที่อุณหภูมิ 800 900 1000 1100 และ 1200 องศาเซลเซียส ปล่อยให้เย็นตัวในเตา จากนั้นสร้างวิธีสำหรับประเมินความ รุนแรงของรอยความไม่ต่อเนื่อง ด้วยเส้นโค้งชดเชยค่าพลังงานคลื่นเสียงความถี่สูงเนื่องจากระยะทาง สำหรับวิธีคลื่นเสียงความถี่สูง และ ค่าชดเชยเวลาการเดินทางของคลื่นเสียง สำหรับการทดสอบด้วยวิธี คลื่นเสียงแบบเรียงเฟส ตามข้อกำหนดของ ASME section V article 4 2017 ในส่วนรอยความไม่ ต่อเนื่องที่ใช้ในงานวิจัย ได้จำลองรอยความไม่ต่อเนื่องชนิดรูพรุน ขนาด 2.5 และ 1 มิลลิเมตร กับชนิด หลอมละลายด้านข้างไม่สมบูรณ์ เพื่อให้ครอบคลุมในการทดสอบทั้งในบริเวณแนวหลอมละลายและใน พื้นที่หลอมละลาย ผลการใช้เส้นโค้งชดเชยค่าพลังงานคลื่นเสียงความถี่สูงเนื่องจากระยะทาง ทดสอบ รอยความไม่ต่อเนื่องในงานเชื่อมที่สร้างขึ้น พบว่าสัญญาณคลื่นเสียงความถี่สูงจากหัวตรวจสอบความถี่ 2.25 MHz มีค่าการลดทอนพลังงานคลื่นเสียงน้อยกว่า และการตอบสนองของสัญญาณมีความถูกต้อง มากกว่า 5 MHz โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้มุมหัวตรวจสอบ 60 องศา ในการตรวจสอบชิ้นงานเชื่อม เหล็กกล้าไร้สนิม และงานเชื่อมโลหะต่างชนิดระหว่างเหล็กกล้าไร้สนิมกับเหล็กกล้าคาร์บอน เส้นโค้ง ชดเชยค่าพลังงานคลื่นเสียงความถี่สูงเนื่องจากระยะทาง ที่สร้างจากชิ้นงานที่อบอุณหภูมิ 1000 องศา เซลเซียส มีความถูกต้องและแม่นยำมากที่สุด เพราะเป็นช่วงอุณหภูมิที่ทำให้เกิดเกรนโตในพื้นที่มาก ที่สุด สำหรับการทดสอบด้วยวิธีคลื่นเสียงความถี่สูงแบบเรียงเฟส ในการตรวจสอบชิ้นงานที่มีรอยความ ไม่ต่อเนื่อง พบว่าผลการทดสอบที่ใช้ค่าชดเชยเวลาการเดินทางของคลื่นเสียง ที่สร้างจากชิ้นงานที่อบ อุณหภูมิ 1000 องศาเซลเซียส มีความถูกต้องและแม่นยำมากที่สุดเช่นเดียวกันกับการทดสอบด้วยวิธี คลื่นเสียงความถี่สูง แต่ในแง่การใช้งาน วิธีคลื่นเสียงความถี่สูงแบบเรียงเฟส สามารถทำงานได้ง่ายกว่า เนื่องจากในการทดสอบมีสัญญาณรบกวนน้อยกว่า สามารถเลือกมุมในการทดสอบ และมีหน้าจอ Sectorial Scan ส่งผลให้ช่วยลดความผิดพลาดและง่ายต่อการประเมินผลรอยความไม่ต่อเนื่อง ซึ่งผล การทดสอบนี้จะเป็นประโยชน์ต่อวิธีการสร้างเส้นโค้งชดเชยพลังงานคลื่นเสียงความถี่สูงเนื่องจาก ระยะทาง สำหรับการทดสอบหารอยความไม่ต่อเนื่องในชิ้นงานเชื่อมเหล็กกล้าไร้สนิม และงานเชื่อม โลหะต่างชนิดระหว่างเหล็กกล้าไร้สนิมกับเหล็กกล้าคาร์บอนในภาคอุตสาหกรรมให้มีความถูกต้องและ แม่นยำ ลดความผิดพลาดและอันตรายจากการประเมินผลการทดสอบผิดพลาด
dc.source สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
dc.title ความสามารถของคลื่นเสียงความถี่สูงในการทดสอบรอยเชื่อมโลหะต่างชนิด
dc.type Research Report


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

  • Research [143]
    วิจัย_รายงานฉบับสมบูรณ์

Show simple item record

Search KMUTT Repository


Advanced Search

Browse

My Account