KMUTT Digital Repository

การสะสมรงควัตถุในอวัยวะสืบพันธุ์ของผึ้งตัวผู้ในผึ้งประเทศไทย

Show simple item record

dc.contributor.author มนัญญา เพียรเจริญ
dc.date.accessioned 2022-04-26T08:52:48Z
dc.date.available 2022-04-26T08:52:48Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://modps76.lib.kmutt.ac.th/xmlui//handle/123456789/3813
dc.description.abstract รงควัตถุในอวัยวะสืบพันธุ์บริเวณต่อม cornua ของผึ้งตัวผู้มีสีเหลืองถึงสีส้มซึ่งมีความคล้ายคลึงกันระหว่างผึ้งแต่ละชนิดแต่ก็ยังมีความแตกต่างกันเล็กน้อย ความแตกต่างของสีนี้อาจเกิดจากการดูดกลืนแสงของรงควัตถุที่ต่างกันในผึ้งแต่ละชนิด การวิจัยนี้จึงศึกษาสเปกตรัมค่าการดูดกลืนแสงของรงควัตถุในอวัยวะสืบพันธุ์ของผึ้ง 3 ชนิด คือ ผึ้งพันธุ์ (Apis mellifera) ผึ้งโพรง (Apis cerana) และผึ้งมิ้ม (Apis florea) โดยเปรียบเทียบปริมาณและสเปกตรัมค่าการดูดกลืนแสงของรงควัตถุระหว่างชนิดผึ้ง ผลการดลองพบว่าสเปกตรัมค่าการดูดกลืนแสงของรงควัตถุที่สะสมในอวัยวะสืบพันธุ์มี 3 peak ที่เห็นชัดเจนในผึ้งทุกชนิดอย่างไรก็ตามความยาวคลื่นที่ให้ค่าการดูดกลืนแสงแตกต่างกันระหว่างผึ้งแต่ละชนิด นอกจากนี้ได้ศึกษาการสะสมรงควัตถุในผึ้งแต่ละชนิดที่มีอายุแตกต่างกัน ผลการทดลองพบว่าผึ้งมีการสะสมรงควัตถุที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับอายุและชนิดของผึ้ง จึงสรุปได้ว่ารงควัตถุในอวัยวะสืบพันธุ์บริเวณต่อม cornua เป็นคุณสมบัติเฉพาะตัวในผึ้งแต่ละชนิดทั้งในเรื่องการสะสมรงควัตถุและความยาวคลื่นที่ให้ค่าการดูดกลืนแสง
dc.source สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
dc.subject KMUTT research reports
dc.title การสะสมรงควัตถุในอวัยวะสืบพันธุ์ของผึ้งตัวผู้ในผึ้งประเทศไทย
dc.type Research Report


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

  • Research [143]
    วิจัย_รายงานฉบับสมบูรณ์

Show simple item record

Search KMUTT Repository


Advanced Search

Browse

My Account