Abstract:
รงควัตถุในอวัยวะสืบพันธุ์บริเวณต่อม cornua ของผึ้งตัวผู้มีสีเหลืองถึงสีส้มซึ่งมีความคล้ายคลึงกันระหว่างผึ้งแต่ละชนิดแต่ก็ยังมีความแตกต่างกันเล็กน้อย ความแตกต่างของสีนี้อาจเกิดจากการดูดกลืนแสงของรงควัตถุที่ต่างกันในผึ้งแต่ละชนิด การวิจัยนี้จึงศึกษาสเปกตรัมค่าการดูดกลืนแสงของรงควัตถุในอวัยวะสืบพันธุ์ของผึ้ง 3 ชนิด คือ ผึ้งพันธุ์ (Apis mellifera) ผึ้งโพรง (Apis cerana) และผึ้งมิ้ม (Apis florea) โดยเปรียบเทียบปริมาณและสเปกตรัมค่าการดูดกลืนแสงของรงควัตถุระหว่างชนิดผึ้ง ผลการดลองพบว่าสเปกตรัมค่าการดูดกลืนแสงของรงควัตถุที่สะสมในอวัยวะสืบพันธุ์มี 3 peak ที่เห็นชัดเจนในผึ้งทุกชนิดอย่างไรก็ตามความยาวคลื่นที่ให้ค่าการดูดกลืนแสงแตกต่างกันระหว่างผึ้งแต่ละชนิด นอกจากนี้ได้ศึกษาการสะสมรงควัตถุในผึ้งแต่ละชนิดที่มีอายุแตกต่างกัน ผลการทดลองพบว่าผึ้งมีการสะสมรงควัตถุที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับอายุและชนิดของผึ้ง จึงสรุปได้ว่ารงควัตถุในอวัยวะสืบพันธุ์บริเวณต่อม cornua เป็นคุณสมบัติเฉพาะตัวในผึ้งแต่ละชนิดทั้งในเรื่องการสะสมรงควัตถุและความยาวคลื่นที่ให้ค่าการดูดกลืนแสง