Please use this identifier to cite or link to this item: https://rbkm.kmutt.ac.th/xmlui//handle/123456789/3802
Title: การศึกษาการเลี้ยงชันโรงเพื่อผลิตน้ำผึ้งสมุนไพรและสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพของผลิตภัณฑ์ที่ได้
Other Titles: The Study of Stingless Bee Keeping for Medicinal Honey Production and The Biologically Active Compounds from it’s Products
Authors: อรวรรณ ดวงภักดี
ปรีชา รอดอิ่ม
มนัญญา เพียรเจริญ
สุภาวดี ชมภูพันธ์
Keywords: ชันโรง
น้ำผึ้งสมุนไพร
KMUTT research reports
การเลี้ยงชันโรง
น้ำผึ้งสมุนไพร
Issue Date: 2553
Abstract: ปัจจุบันน้ำผึ้งจากชันโรงได้รับความสนใจมากขึ้นเนื่องจากมีคุณสมบัติทางยาสูง ผลเปรียบเทียบการเลี้ยง ชันโรงเพื่อเก็บผลผลิตจากชันโรง 4 ชนิดที่นิยมเลี้ยง คือ Tigona pagdeni, Trigona laeviceps, Trigona terminata, Trigona fuscobalteata โดยวิธีการเลี้ยงในกล่องไม้มาตรฐาน พบว่าปริมาณผลผลิตน้ำผึ้งเรียงตามลำดับ จากมากไปหาน้อยคือ T. pagdeni, T. Jaeviceps, T. teminata และ T. fuscobalteata และปริมาณผลผลิตพรอพอลิสเรียง ตามลำตับจากมากไปหาน้อย คือ T. terminata, T. pagdeni, T. Jaeviceps และ T.fuscobalteata ตามลำดับ การวิเคราะห์องค์ประกอบของน้ำผึ้งจากชันโรง 3 ชนิด T. pagdeni, T. laeviceps and T. teminataที่เก็บ ได้จากพื้นที่วิจัยในจังหวัตราชบุรี โดยวิเคราะห์คุณสมบัติของน้ำผึ้งตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม คือ น้ำตาลรีดิวชิงคิดเป็นน้ำตาลอินเวิร์ต ความชื้น ซูโครส สารที่ไม่ละลายน้ำ เถ้า ความเป็นกรด คำไดแอสเตส แอกติวิตี ปริมาณไฮดรอกชีเมทิลเฟอร์ฟิรัล และวัตถุเจือปนอาหาร พบว่าน้ำผึ้งจากชันโรงมีความเป็นกรด และความชื้นสูงกว่ามาตรฐาน แต่มีน้ำตาลรีดิวซิงน้อยกว่มาตรฐาน คุณลักษณะอื่นๆ ตรงตามเกณฑ์ มาตรฐานตามที่กำหนด ผลวิจัยประสิทธิภาพของน้ำผึ้งจาก T. pagdeni, T. laeviceps และ T. terminata ในการยับยั้งจุลินทรีย์ ทดสอบตัวยวิธีซึมผ่านของสารเข้าสู่เนื้อวุ้นและวิซึมผ่านของสารจากกระดาษกับเชื้อจุลินทรีย์ Pseudomonas aeruginosa, Staphylococcus aureus, Bacillus subtilis, Pseudomonas aeruginosa และMicrococcus aeruginosa (แบคที่เรียแกรมบวก), Escherichia coli (แบคที่เรียแทรมลบ) และ Candida albicans (ยี่สต์) พบว่า น้ำผึ้งจากซันโรงทั้ง 3 ชนิด แสดงฤทธิ์ยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ได้ตี โดยน้ำผึ้งจากชันโรงชนิด T. laeviceps ประสิทธิภาพสูงสุดและลามารถย์ ยั้บยั้งจุลินทรีย์ที่ทดสอบได้ทุกชนิต ในขณะที่น้ำผึ้งจาก T. padgeni, T. terminata และ T. fuscobalteata ไม่สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อ C. albicans ได้ ในส่วนของสารสกัดพรอพอลิสพบว่า สามารถยับยั้งจุลินทรีย์ได้ดี โดยสารสกัดเอทิลอะชิเตตแสดงประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อเทียบกับสารสกัดเอกเซนและเม ทานอล พบว่าประสิทธิภาพการยับยั้งเชื้อจุสินทรีย์มีความหลากหลายขึ้นอยู่กับลักษณะพื้นที่ที่เลี้ยงเพื่อเก็บผลิตภัณฑ์และชนิตของจุลินทรีย์ที่ใช้ทตสอบ การนำสารสกัดเอทิลอะซิเตตมาแยกต่อด้วยวิธีโครมาโทรกราแบบคอลัมน์ และวิเคราะห์องค์ประกอบใน ส่วนย่อยที่แสดงฤทธิ์โดยใช้ CC-MS แล้วเปรียบเทียบกับสเปกตรัมในฐานข้อมูล พบว่าประกอบด้วยสารกลุ่ม ได เทอร์ปินอยต์ ไตรเทอร์ปันอยฮ์ ไฮโตรคาร์บอนโซ่ยาว และอนุพันธ์ของฟินอล และยังมีสารอีกประมาณ 18 ชนิดที่พบ ในปริมาณมากอย่างมีนัยสำคัญแต่ยังไม่สามารถระบุชนิตได้
Description: 58 หน้า : ภาพประกอบ
URI: https://modps76.lib.kmutt.ac.th/xmlui//handle/123456789/3802
Appears in Collections:Research

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
1_2553-การศึกษาการเลี้ยงชันโรง-อรวรรณ-ทุน วช..pdfการศึกษาการเลี้ยงชันโรงเพื่อผลิตน้ำผึ้งสมุนไพรและสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพของผลิตภัณฑ์ที่ได้2.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.