Please use this identifier to cite or link to this item: https://rbkm.kmutt.ac.th/xmlui//handle/123456789/3815
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorปณัตดา ยอดแสง-
dc.contributor.authorอรวรรณ ดวงภักดี-
dc.contributor.authorปรีชา รอดอิ่ม-
dc.contributor.authorพรรณปพร กองแก้ว-
dc.date.accessioned2022-04-26T08:52:48Z-
dc.date.available2022-04-26T08:52:48Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttps://modps76.lib.kmutt.ac.th/xmlui//handle/123456789/3815-
dc.description75 หน้า : ภาพประกอบ-
dc.description.abstractต้นผึ้งเป็นไม้เนื้ออ่อน ตระกูลไทร มีทรงพุ่มและพูพอนบริเวณรากขนาดใหญ่ เปลือกมีผิวเรียบ มีกลิ่นหอม ผึ้งหลวงมักมาทำรังเนื่องจากศัตรูของผึ้งปีนขึ้นมารบกวนยาก เมื่อมีผึ้งหลวงมาทำรัง ทำให้เกิดความหลากหลายทางระบบนิเวศ เพราะผึ้งหลวงเป็นแมลงผสมเกษตรที่ดีในธรรมชาติ ในอดีตอำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี มีต้นผึ้งมากมาย แต่ปัจจุบันลดจำนวนลงไปมาก เหลือเพียง 27 ต้น จากการสำรวจกิดจากปัญหาภัยธรรมชาติ เช่นน้ำท่วม ไฟป่า รวมทั้งการสร้างที่อยู่อาศัยหรือทำการเกษตรใกล้ต้นผึ้ง ทำให้มีสารเคมีปนเปื้อนไปกับน้ำ สู่ต้นผึ้ง การตอกทอยเพื่อขึ้นไปเก็บน้ำผึ้งหลวง ทำให้ต้นผึ้งอ่อนแอและตายลง เมื่อต้นผึ้งหายไป ผึ้งหลวงก็หายไปด้วย จึงผลโดยตรงต่อระบบนิเวศโดยตรง นอกจากนี้ยังพบว่าอัตราการงอกของต้นกล้าผึ้งในธรรมชาติและเพาะปลูกต่ำมาก งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อหาวิธีอนุรักษ์ต้นผึ้งไว้ โดยนำไมคอร์ไรซาซึ่งเป็นราอิงอาศัยของพืช เพราะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการย่อยแร่ธาตุที่สะสมในดินจนแข็งตัว รวมทั้งอินทรียวัตถุต่างๆ เช่น ฟอสฟอรัส ไนโตรเจน และโพแทสเซียม และเมื่อไมคอร์ไรซาฝังตัวในรากพืชจะทำให้พื้นที่ผิวของรากเพิ่มมากขึ้น รายังทำหน้าที่คล้ายกับรากฝอยของพืช จึงสามารถดูดซึมสารอาหารได้มากขึ้นด้วย จากการศึกษาความหลากหลายของราไมคอร์ไรซาจากบริเวณดินและรากของต้นผึ้ง 20 ต้น ในจังหวัดราชบุรีและประจวบคีรีขันธ์ พบสปอร์ของราชนิด arbuscular mycorrhizal ที่มีการแทรกเส้นใยเข้าไปในชั้นผิวและคอร์เทกในรากของต้นผึ้ง โดยเป็นสายพันธุ์ที่อยู่ในกลุ่ม Gigaspora sp., Glomus sp., และ Acaulospora sp. จำนวน 9 แบบ เมื่อทดลองนำไมคอร์ไรซาเพื่อช่วยในการงอก การอยู่รอด และการเจริญเติบโตของต้นผึ้ง เปรียบเทียบระหว่างดินที่มีการฆ่าเชื้อไมคอร์ไรซา (ควบคุม) และดินที่มีไมคอร์ไรซา (ทดลอง) พบว่าอัตราการงอกและการรอดของต้นกล้าในดินกระถางทดลอง มากกว่าดินกระถางควบคุมถึง 80 และ 70 เท่า ตามลำดับ และเมื่อทำการย้ายกล้าลงถุงเพาะชำ พบว่าต้นกล้าในดินที่มีไมคอร์ไรซาเจริญเติบโตเร็วกว่าดินที่ไม่มีไมคอร์ไรซาถึง 50 เท่า รวมทั้งต้นกล้ามีความสมบูรณ์มากกว่าด้วย จากผลการทดลองทั้งหมดได้นำมาถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องไมคอร์ไรซาและต้นผึ้ง ให้กับเจ้าหน้าที่อุทยานธรรมชาติวิทยาและครู นักเรียนของโรงเรียนสินแร่สยาม จำนวน 50 คน จากการอบรมพบว่า แม้ต้นผึ้งจะเป็นพืชประจำถิ่นของอำเภอสวนผึ้ง แต่คนในพื้นที่ส่วนใหญ่ไม่รู้จักต้นผึ้ง และไม่รู้วิธีการเพาะต้นผึ้ง หลายคนเริ่มสนใจที่จะดูแลรักษาต้นผึ้งให้อยู่คู่กับพื้นที่ต่อไป-
dc.publisherมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ราชบุรี, 2563-
dc.sourceสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)-
dc.subjectKMUTT research reports-
dc.subjectราไมคอร์ไรซา-
dc.subjectรากต้นผึ้ง-
dc.titleความหลากหลายของราไมคอร์ไรซาจากรากต้นผึ้ง ในเทือกเขาตะนาวศรี จังหวัดราชบุรีและประจวบคีรีขันธ์-
dc.typeResearch Report-
Appears in Collections:Research

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2560-ความหลากหลายของราไมคอร์ไรซาจากรากต้นผึ้ง-ปณัตดา-ทุน วช..pdfความหลากหลายของราไมคอร์ไรซาจากรากต้นผึ้ง ในเทือกเขาตะนาวศรี จังหวัดราชบุรีและประจวบคีรีขันธ์12.53 MBAdobe PDFView/Open
14.jpgความหลากหลายของราไมคอร์ไรซาจากรากต้นผึ้ง ในเทือกเขาตะนาวศรี จังหวัดราชบุรีและประจวบคีรีขันธ์286.88 kBJPEGView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.