Abstract:
ป่าเต็งรังใน มจธ. วิทยาเขตราชบุรี มีลักษณะโครงสร้างแบ่งเป็น 2 ชั้นเรือนยอด ไม่นับพืชในชั้นพื้นป่า เรือนยอดชั้นบนสูงประมาณ 7-8 เมตร ขึ้นอยู่ในบริเวณที่มีดินตื้น ลักษณะเป็นหินศิลาแลง มีหินโผล่ปกคลุม เป็นบริเวณกว้าง และมีความแห้งแล้ง ประกอบด้วย พรรณไม้เด่นในเรือน ยอดชั้นบน ได้แก่ เต็ง รัง เหียง และพลวง เป็นต้น เรือนยอดชั้นไม้พุ่ม ได้แก่ กล้วยเต่า ปรงเหลี่ยม ปุ่มเป้ง เป็นต้น และไม้พื้นล่าง ได้แก่ ปอเต่าไห้ เปราะป่า เป็นต้น จัดได้ว่าสังคมป่าเต็งรังภายในมหาวิทยาลัยเป็นสังคมย่อยป่าเต็งรังแคระด้านการแบ่งลักษณะโครงสร้างทางด้านตั้ง