KMUTT Digital Repository

สะพานขึงรถไฟ’ แห่งแรกที่เดียวในไทย ข้ามแม่น้ำแม่กลอง จ.ราชบุรี

Show simple item record

dc.contributor.author Skye Go Around
dc.date.accessioned 2023-04-25T04:15:49Z
dc.date.available 2023-04-25T04:15:49Z
dc.date.issued 2566
dc.identifier.uri https://www.youtube.com/watch?v=zeA1FiQTMKY
dc.identifier.uri https://modps76.lib.kmutt.ac.th/xmlui//handle/123456789/4027
dc.language.iso th_TH th_TH
dc.subject สะพานขึงรถไฟ th_TH
dc.subject สะพานขึงรถไฟแห่งแรกในไทย th_TH
dc.subject ราชบุรี th_TH
dc.subject สะพานจุฬาลงกรณ์ th_TH
dc.title สะพานขึงรถไฟ’ แห่งแรกที่เดียวในไทย ข้ามแม่น้ำแม่กลอง จ.ราชบุรี th_TH
dc.type Video th_TH
dc.description.summary สะพานขึงรถไฟ” แห่งแรกในไทย สร้างเสร็จแล้ว 100% ตั้งตระหง่านข้ามแม่น้ำแม่กลอง “ราชบุรี” คู่ขนานสะพานจุฬาลงกรณ์ ไฮไลต์รถไฟทางคู่สายใต้ เตรียมลุยวางราง ขณะที่งาน 5 สัญญาหมดอายุแล้ว อานิสงส์โควิด ได้ต่อสัญญาอีก 6 เดือน ขยับไทม์ไลน์เปิดบริการเป็นปี 67 รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) แจ้งว่า ขณะนี้สะพานขึงรถไฟ (Extradosed Bridge) แห่งแรก และมีความยาวที่สุดในประเทศไทย ได้เชื่อมต่อโครงสร้างสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำแม่กลองเสร็จเรียบร้อย 100% อยู่ระหว่างเตรียมติดตั้งงานระบบการวางรางบนสะพาน ซึ่งเป็นทางเดี่ยว คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 6 เดือน สำหรับสะพานดังกล่าวถือเป็นไฮไลต์สำคัญของโครงการรถไฟทางคู่ สายใต้ ช่วงนครปฐม-ชุมพร ระยะทาง 421 กิโลเมตร (กม.) วงเงิน 3.39 หมื่นล้านบาท โดยงานก่อสร้างอยู่ในสัญญาที่ 1 นครปฐม-หนองปลาไหล เป็นสะพานขึงรถไฟ มีความยาวรวม 340 เมตร (ช่วงสะพานข้ามแม่น้ำแม่กลองยาว 160 เมตร) กว้าง 7.64 เมตร รายงานข่าวแจ้งต่อว่า สะพานขึงรถไฟข้ามแม่น้ำแม่กลอง ตั้งอยู่บริเวณ อ.เมือง จ.ราชบุรี คู่ขนานกับสะพานจุฬาลงกรณ์ ไม่มีเสาตอม่อกลางแม่น้ำ มีตอม่อแค่ 2 ฝั่งแม่น้ำ เป็นทางเดี่ยว โดยเป็นทางเดิน 1 เมตร และมีเสา Pylon สูง 17.5 เมตร อย่างไรก็ตาม สะพานแห่งนี้นอกจากจะเป็นประโยชน์ด้านการคมนาคมขนส่งแล้ว จะช่วยดึงดูดให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และต่างชาติเดินทางมาเที่ยวชม พร้อมศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ กลายเป็นแลนด์มาร์คแห่งใหม่ของเมืองราชบุรี และที่ท่องเที่ยวระดับนานาชาติต่อไปด้วย th_TH


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search KMUTT Repository


Advanced Search

Browse

My Account