KMUTT Digital Repository

แผนที่และฐานข้อมูลศักยภาพแสงสว่างธรรมชาติจากภาพถ่ายดาวเทียมสำหรับประเทศไทย

Show simple item record

dc.contributor.author รองศาสตราจารย์ ดร. เสริม จันทร์ฉาย, อาจารย์ ดร. จรุงแสง ลักษณบุญส่ง
dc.contributor.author Dr. Manuel Nunez, นายอิสระ มะศิริ
dc.contributor.author นางสาวกรทิพย์ โต๊ะสิงห์, นายประสาน ปานแก้ว
dc.contributor.author นางสาวรุ่งรัตน์ วัดตาล, นางสาวเนตรนภา ชิวปรีชา
dc.contributor.author นางสาวอรอนงค์ แช่มเล็ก, นางใหม่เทียน จันทโชติ
dc.date.accessioned 2022-10-27T07:11:08Z
dc.date.available 2022-10-27T07:11:08Z
dc.date.issued 2547-08
dc.identifier.uri https://modps76.lib.kmutt.ac.th/xmlui//handle/123456789/3964
dc.description 407 หน้า -- ภาพประกอบสี th_TH
dc.description.abstract ในงานวิจัยนี้ ผู้วิจัยได้ทำการพัฒนาแผนที่และฐานข้อมูลศักยภาพแสงสว่างธรรมชาติสำหรับ ประเทศไทย โดยได้ทำการหาปริมาณแสงสว่างธรรมชาติในรูปของความเข้มแสงสว่างจากส่วนต่างๆ ของท้องฟ้ (sky Iuminance) และความเข้มแสงสว่างธรรมชาติบนพื้นราบ (global iluminance) ใน การคำนวณความเข้มแสงสว่างจากส่วนต่าง ๆ ของท้องฟ้า ผู้วิจัยได้ทำการพัฒนาแบบจำลองเชิงสถิติ ซึ่ง เขียนในรูปของผลคูณของฟังก์ชัน F, และ F, โดย F, เป็นฟังก็ชันของมุมเซนิธของดวงอาทิตย์กับจุดที่ พิจารณาบนท้องฟ้า และ F, เป็นฟิงกัชันของระยะเชิงมุมระหว่างจุดบนท้องฟ้กับควงอาทิตย์ จากนั้นได้ ทำการวิเคราะห์หาฟังก์ชัน F, และ F, โดยการใช้ข้อมูลความเข้มแสงสว่างจากส่วนต่าง ๆ ของท้องฟ้า ซึ่ง ทำการวัดที่จังหวัดนครปฐม (13.81 N, 100.04* E) ระหว่างเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2002 ถึงเดือน พฤษภาคม ค.ศ. 2003 ร่วมกับข้อมูลสัมประสิทธิ์การสะท้อนของบรรยากาศและพื้นผิวโลกที่ได้จาก ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม GMS-5 หลังจากการทดสอบความละเอียดถูกต้องของแบบจำลองแล้ว ผู้วิจัยได้ ใช้แบบจำลองดังกล่าวคำนวณค่าความเข้มแสงสว่างจากส่วนต่าง ๆ ของท้องฟ้า ที่ทุกอำเภอของทุก จังหวัดในประเทศไทย ในด้านของความเข้มแสงสว่างธรรมชาติบนพื้นราบ ผู้วิจัยได้พัฒนาแบบจำลองเชิงฟิสิกส์ ซึ่ง แสดงความสัมพันธ์ระหว่างสัมประสิทธิ์การสะท้อนของบรรยากาศและพื้นผิวโลกในช่วงความยาวคลื่น แสงสว่างกับสัมประสิทธิ์การดูดกลืนและการกระเจิงรังสีดวงอาทิตย์ขององค์ประกอบต่างๆ ของ บรรยากาศ โดยสัมประสิทธิ์การคูดกลืนรังสีดวงอาทิตย์ของไอน้ำจะคำนวณจากข้อมูลอุณหภูมิและ ความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศ สัมประสิทธิ์ของการดูดกลืนและการกระเจิงรังสีดวงอาทิตย์ของฝุ่น ละอองจะคำนวณจากข้อมูลทัศนวิสัย สำหรับสัมประสิทธิ์การดูดกลืนของโอโซนจะคำนวณจากข้อมูล ปริมาณ โอโซนซี่งได้จากเครื่องวัด TOMS ของดาวเทียม Earth Probe ของ NASA จากนั้นได้ทำการ ทดสอบแบบจำลองโดยใช้ข้อมูลความเข้มแสงสว่างธรรมชาติ ซึ่งทำการวัคที่สถานีเชียงใหม่ (18.780 N, 98.980 E) สถานีอุบลราชธานี (15.250 N, 104.87*E) สถานีสงขลา (7.200 N, 100.60*E) และสถานี นครปฐม จากผลการทดสอบพบว่าความเข้มแสงสว่างธรรมชาติที่คำนวณได้จากแบบจำลองมีค่าสอด คล้องกับค่าที่ได้จากการวัด โดยมีค่า root mean square difference เท่ากับ 8.1 % หลังจากนั้น ผู้วิจัยได้ ใช้แบบจำลองดังกล่าวคำนวณค่าความเข้มแสงสว่างธรรมชาติทั่วประเทศ แล้วนำค่าที่ได้มาจัดแสดงใน รูปแผนที่ศักขภาพแสงสว่างธรรมชาติของประเทศไทย ทั้งในรูปของข้อมูลรายชั่วโมงเฉลี่ยต่อเดือนและ เฉลี่ยต่อปี จากแผนที่รายชั่วโมงเฉลี่ยต่อเดือนพบว่า พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศได้รับแสงสว่างธรรม ชาติสูงสุดในเดือนเมยายน โดยมีค่าอยู่ระหว่าง 80-100 kx เมื่อพิจารณาจากแผนที่รายชั่วโมงเฉลี่ยต่อปีพบว่า 44.1% ของพื้นที่ของประเทศได้รับแสงสว่างธรรมชาติในช่วง 75-80 KX โคยบริเวณที่มีค่าความ เข้มแสงสว่างสูงสุดที่ตอนกลางของภาคกลางและภาคใด้ตอนล่าง สำหรับบริเวณภูเขาในภาคเหนือซึ่งคิด เป็นพื้นที่ประมาณ 1.7 % ของพื้นที่ของประเทศได้รับแสงสว่างธรรมชาติก่อนข้างต่ำ โดยมีค่าอยู่ในช่วง 50-65 Kx ผลที่ได้นี้แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีศักยภาพแสงสว่างธรรมชาติค่อนข้างสูง นอกจากนี้ ผู้ วิจัยยังได้จัดทำฐานข้อมูลแสงสว่างธรรมชาติสำหรับใช้ในงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไป th_TH
dc.description.sponsorship กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน th_TH
dc.description.tableofcontents กิตติกรรมประกาศ -- บทคัดย่อภาษาไทย -- บทคัดย่อภาษาอังกฤษ -- สารบัญ -- บทที่ 1 บทนำ -- บทที่ 2 หลักการทางวิชาการและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง -- บทที่ 3 วิธีการดำเนินการวิจัยและผล - บทที่ 4 การคำนวณปริมาณแสงสว่างบนพื้นราบ -- บทที่ 5 สรุป -- อ้างอิง th_TH
dc.language.iso th_TH th_TH
dc.publisher บริษัท จิรังรัชต์ จำกัด th_TH
dc.subject แผนที่ th_TH
dc.subject ฐานข้อมูล th_TH
dc.title แผนที่และฐานข้อมูลศักยภาพแสงสว่างธรรมชาติจากภาพถ่ายดาวเทียมสำหรับประเทศไทย th_TH
dc.title.alternative แผนที่และฐานข้อมูล th_TH
dc.type Research Report th_TH


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search KMUTT Repository


Advanced Search

Browse

My Account