Abstract:
โครงการวิจัยนี้ศึกษาประสิทธิภาพของหน่วยบำบัดอากาศที่ออกจากห้องความดันลบด้วยระบบตัวกลางแบบคงที่และแบบเคลื่อนที่ โดยใช้ตัวกรองภายในเครื่องที่ผลิตจากวัสดุพรุน จีโอพอลิเมอร์ โดยทำการศึกษาปริมาณการผสมเถ้าชีวมวลจากโรงไฟฟ้าที่ 0 10 30 50 และ 70 โดยน้าหนัก และแคลเซียมคาร์บอเนตในปริมาณร้อยละ 10 30 50 และ 70 โดยน้าหนัก จากนั้นทำการตัวอย่างที่อุณหภูมิ 800 850 และ 900 องศาเซลเซียส ผลการศึกษาพบว่า ปริมาณเถ้าชีวมวล และแคลเซียมคาร์บอเนตเป็นผลทาให้ค่ากำลัง ความหนาแน่นลดลง เนื่องจากเป็นการเพิ่มปริมาณช่องว่างในตัวอย่าง และเมื่อนาไปทาการเผาพบว่า การเผาที่อุณหภูมิ 850 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ทำให้วัสดุพรุนจากจีโอพอลิเมอร์มีความแข็งแรงเพิ่มขึ้น และความพรุนเพิ่มขึ้นด้วย จากนั้นนำไปทำการทดสอบความสามารถในการบำบัดสารอินทรีย์ และเชื้อแบคทีเรีย พบว่า การผสมไทเทเนียมในสารเคลือบในปริมาณร้อยละ 15 โดยน้าหนัก สารเคลือบทำให้ประสิทธิภาพในการบำบัดสารอินทรีย์เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 95 และมีความสามารถในการทำลายแบคทีเรีย E.coli และ S.aureus ได้ถึงร้อยละ 98 ดังนั้นจึงนำสัดส่วนนี้มาทำการผลิตตัวกลางแบบคงที่ ส่วนตัวกลางแบบผลิตจาก ABS พื้นที่ผิวทั้งหมดเท่ากับ 1805.67 ตารางมิลลิเมตร ความหนาแน่นเท่ากับ 0.45 กรัมต่อลูกบาศก์มิลลิเมตร ซึ่งมีรูปทรงเป็นแบบทรงกระบอกกลวง