dc.contributor.author | ทศพร ทองเที่ยง | |
dc.date.accessioned | 2022-04-26T08:52:48Z | |
dc.date.available | 2022-04-26T08:52:48Z | |
dc.date.issued | 2561 | |
dc.identifier.uri | https://modps76.lib.kmutt.ac.th/xmlui//handle/123456789/3816 | |
dc.description.abstract | เห็ดโคนญี่ปุ่น (Agrocybe cylindracea) เป็นเห็ดรับประทานได้ มีความนิยมในการบริโภคอย่างแพร่หลายในประเทศไทย แต่ถึงอย่างไรก็ตามปัจจุบันการศึกษาและพัฒนาเทคโนโลยี สภาวะการการเพาะเลี้ยง และการทดลองขยายขนาดการเพาะเลี้ยงในระดับอุตสาหกรรมยังมีข้อมูลที่น้อยมาก โครงการนี้จึงต้องการศึกษาและพัฒนาการเพาะเลี้ยงเห็ดโคนญี่ปุ่นในโรงเรือนระบบปิด รวมถึงการศึกษาผลการขยายขนาดการเพาะเลี้ยงในระดับอุตสาหกรรม ผลการศึกษาพบว่าแม่เชื้อบริสุทธิ์เห็ดโคนญี่ปุ่นที่จาหน่ายในท้องตลาดให้ดอกเห็ดที่มีลักษณะทางกายภาพที่แตกต่างกันจานวน 3 ลักษณะ ได้แก่ ลักษณะที่ 1 ดอกสีน้าตาลเข้มขนาดเล็กก้านสั้น ลักษณะที่ 2ดอกสีน้าตาลกลางขนาดใหญ่ก้านยาว และลักษณะที่ 3 ดอกสีน้าตาลอ่อนขนาดเล็กก้านยาวซึ่งเป็นที่นิยมมากที่สุด ผู้วิจัยจึงนาดอกเห็ดลักษณะที่ 3 มาแยกเส้นใยและศึกษาผลของกรรมวิธีการบรรจุก้อนของเห็ดโคนญี่ปุ่น พบว่ากรรมวิธีการบรรจุก้อนเห็ดมีผลต่อความเร็วของการเจริญเส้นใยในระยะบ่มก้อนอย่างมีนัยสาคัญ โดยก้อนที่บรรจุวัสดุเพาะแบบอัดก้อนหลวมทั้งขนาด 0.5 และ 1 กิโลกรัม ให้ผลการเจริญของเส้นใยเร็วที่สุดเมื่อเก็บผลการทดลองที่ 3 สัปดาห์ แต่อย่างไรก็ตามผู้วิจัยพบว่าการเจริญของเส้นใยที่รวดเร็วไม่ได้สัมพันธ์กับปริมาณการเกิดดอกและคุณภาพของดอกเห็ด การบรรจุก้อนแบบอัดแน่นให้ผลผลิตรวมของดอกเห็ดที่มากกว่าการบรรจุก้อนแบบอัดหลวมอย่างมีนัยสาคัญทั้งขนาดก้อน 0.5 และ 1 กิโลกรัม ต่อมาผู้วิจัยได้ขยายขนาดการเพาะลี้ยงเห็ดโคนญี่ปุ่นในโรงเรือนระบบปิดโดยใช้การบรรจุก้อนแบบอัดแน่นพบว่า เมื่อขยายขนาดทดลองให้มีจานวนก้อนเห็ดที่มากขึ้นในสภาวะโรงเรือนเดิมก้อนเห็ดกลับสร้างจานวนดอกที่ลดลง และพบว่าเห็ดโคนญี่ปุ่นมีพฤติกรรมการออกดอกที่เฉพาะตัว ซึ่งสามารถจัดกลุ่มรูปแบบการออกดอกได้จานวน 4 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบที่ 1 ออกดอกทุกรอบการผลิต รูปแบบที่ 2 ออกดอก 2-6 รอบ (ไม่มีการเว้นรอบการออกดอก) รูปแบบที่ 3 ออกดอก 2-4 รอบ (มีการเว้นรอบการอกดอก) และรูปแบบที่ 4 ออกดอก 1 รอบตลอดการผลิต โดยรูปแบบที่ 3 เป็นรูปแบบการออกดอกที่มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 41 ของจานวนตัวอย่างก้อนเห็ด ผลวิเคราะห์การลงทุนของโรงเรือนระบบปิดพบว่า การเพาะเลี้ยงเห็ดโคนญี่ปุ่นจะสามารถสร้างผลกาไรได้ ก็ต่อเมื่อก้อนเห็ดให้ผลผลิตมากกว่า 150 กรัมต่อก้อนต่อปี เมื่อสิ้นสุดการทดลองทีมวิจัยจึงได้เผยแพร่องค์ความรู้ในการเพาะเลี้ยงเห็ดโคนญี่ปุ่นแก่กลุ่มเกษตรผู้เพาะเลี้ยงเห็ดของ จ.ราชบุรี จานวน 2 ครั้ง ได้แก่ การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการกระบวนการเขี่ยเชื้อและเพาะเลี้ยงเห็ดแก่เกษตรกรกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านหนองผีหลอก อ.จอมบึง จ.ราชบุรี และจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการและศึกษาดูงานการเพาะเลี้ยงเห็ดโคนญี่ปุ่นและเห็ดเศรษฐกิจอื่นด้วยโรงเรือนระบบปิด แก่กลุ่มเกษตรกรผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงเห็ดเศรษฐกิจในจังหวัดราชบุรี ณ จาวาฟาร์ม ต.แพรกศรีราชา อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท | |
dc.source | สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) | |
dc.subject | KMUTT research reports | |
dc.subject | เห็ดโคนญี่ปุ่น | |
dc.subject | โรงเรือนระบบปิด | |
dc.title | การพัฒนาเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเห็ดโคนญี่ปุ่น (Agrocybe cylindracea) ในโรงเรือนระบบปิด | |
dc.type | Research Report |