KMUTT Digital Repository

ความหลากหลายของราไมคอร์ไรซาจากรากต้นผึ้ง ในเทือกเขาตะนาวศรี จังหวัดราชบุรีและประจวบคีรีขันธ์

Show simple item record

dc.contributor.author ปณัตดา ยอดแสง
dc.contributor.author อรวรรณ ดวงภักดี
dc.contributor.author ปรีชา รอดอิ่ม
dc.contributor.author พรรณปพร กองแก้ว
dc.date.accessioned 2022-04-26T08:52:48Z
dc.date.available 2022-04-26T08:52:48Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri https://modps76.lib.kmutt.ac.th/xmlui//handle/123456789/3815
dc.description 75 หน้า : ภาพประกอบ
dc.description.abstract ต้นผึ้งเป็นไม้เนื้ออ่อน ตระกูลไทร มีทรงพุ่มและพูพอนบริเวณรากขนาดใหญ่ เปลือกมีผิวเรียบ มีกลิ่นหอม ผึ้งหลวงมักมาทำรังเนื่องจากศัตรูของผึ้งปีนขึ้นมารบกวนยาก เมื่อมีผึ้งหลวงมาทำรัง ทำให้เกิดความหลากหลายทางระบบนิเวศ เพราะผึ้งหลวงเป็นแมลงผสมเกษตรที่ดีในธรรมชาติ ในอดีตอำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี มีต้นผึ้งมากมาย แต่ปัจจุบันลดจำนวนลงไปมาก เหลือเพียง 27 ต้น จากการสำรวจกิดจากปัญหาภัยธรรมชาติ เช่นน้ำท่วม ไฟป่า รวมทั้งการสร้างที่อยู่อาศัยหรือทำการเกษตรใกล้ต้นผึ้ง ทำให้มีสารเคมีปนเปื้อนไปกับน้ำ สู่ต้นผึ้ง การตอกทอยเพื่อขึ้นไปเก็บน้ำผึ้งหลวง ทำให้ต้นผึ้งอ่อนแอและตายลง เมื่อต้นผึ้งหายไป ผึ้งหลวงก็หายไปด้วย จึงผลโดยตรงต่อระบบนิเวศโดยตรง นอกจากนี้ยังพบว่าอัตราการงอกของต้นกล้าผึ้งในธรรมชาติและเพาะปลูกต่ำมาก งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อหาวิธีอนุรักษ์ต้นผึ้งไว้ โดยนำไมคอร์ไรซาซึ่งเป็นราอิงอาศัยของพืช เพราะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการย่อยแร่ธาตุที่สะสมในดินจนแข็งตัว รวมทั้งอินทรียวัตถุต่างๆ เช่น ฟอสฟอรัส ไนโตรเจน และโพแทสเซียม และเมื่อไมคอร์ไรซาฝังตัวในรากพืชจะทำให้พื้นที่ผิวของรากเพิ่มมากขึ้น รายังทำหน้าที่คล้ายกับรากฝอยของพืช จึงสามารถดูดซึมสารอาหารได้มากขึ้นด้วย จากการศึกษาความหลากหลายของราไมคอร์ไรซาจากบริเวณดินและรากของต้นผึ้ง 20 ต้น ในจังหวัดราชบุรีและประจวบคีรีขันธ์ พบสปอร์ของราชนิด arbuscular mycorrhizal ที่มีการแทรกเส้นใยเข้าไปในชั้นผิวและคอร์เทกในรากของต้นผึ้ง โดยเป็นสายพันธุ์ที่อยู่ในกลุ่ม Gigaspora sp., Glomus sp., และ Acaulospora sp. จำนวน 9 แบบ เมื่อทดลองนำไมคอร์ไรซาเพื่อช่วยในการงอก การอยู่รอด และการเจริญเติบโตของต้นผึ้ง เปรียบเทียบระหว่างดินที่มีการฆ่าเชื้อไมคอร์ไรซา (ควบคุม) และดินที่มีไมคอร์ไรซา (ทดลอง) พบว่าอัตราการงอกและการรอดของต้นกล้าในดินกระถางทดลอง มากกว่าดินกระถางควบคุมถึง 80 และ 70 เท่า ตามลำดับ และเมื่อทำการย้ายกล้าลงถุงเพาะชำ พบว่าต้นกล้าในดินที่มีไมคอร์ไรซาเจริญเติบโตเร็วกว่าดินที่ไม่มีไมคอร์ไรซาถึง 50 เท่า รวมทั้งต้นกล้ามีความสมบูรณ์มากกว่าด้วย จากผลการทดลองทั้งหมดได้นำมาถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องไมคอร์ไรซาและต้นผึ้ง ให้กับเจ้าหน้าที่อุทยานธรรมชาติวิทยาและครู นักเรียนของโรงเรียนสินแร่สยาม จำนวน 50 คน จากการอบรมพบว่า แม้ต้นผึ้งจะเป็นพืชประจำถิ่นของอำเภอสวนผึ้ง แต่คนในพื้นที่ส่วนใหญ่ไม่รู้จักต้นผึ้ง และไม่รู้วิธีการเพาะต้นผึ้ง หลายคนเริ่มสนใจที่จะดูแลรักษาต้นผึ้งให้อยู่คู่กับพื้นที่ต่อไป
dc.publisher มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ราชบุรี, 2563
dc.source สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
dc.subject KMUTT research reports
dc.subject ราไมคอร์ไรซา
dc.subject รากต้นผึ้ง
dc.title ความหลากหลายของราไมคอร์ไรซาจากรากต้นผึ้ง ในเทือกเขาตะนาวศรี จังหวัดราชบุรีและประจวบคีรีขันธ์
dc.type Research Report


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

  • Research [143]
    วิจัย_รายงานฉบับสมบูรณ์

Show simple item record

Search KMUTT Repository


Advanced Search

Browse

My Account