Abstract:
โครงการวิจัยนี้เป็นการจัดระบบการผลิตชาดอกเก็กฮวยให้ถูกหลัก GMP และศึกษาผลของบรรจุภัณฑ์ที่มีต่อคุณภาพของชาดอกเก็กฮวยในด้านของ %ความชื้น และปริมาณของสารออกฤทธิ์ในชาดอกเก็กฮวย (ปริมาณโพลีฟีนอล และ ปริมาณเบต้าแคโรทีน) โดยใช้ชนิดของบรรจุภัณฑ์และภาวะการบรรจุที่แตกต่างกัน ได้แก่ ถุงพลาสติก polyethylene และบรรจุภายใต้บรรยากาศปกติ (PE) ถุงไนล่อน และบรรจุภายใต้บรรยากาศปกติ (PA) ถุงไนล่อน และบรรจุแก๊สไนโตรเจน (N-PA) และ ถุง aluminum และบรรจุภายใต้บรรยากาศปกติ (AL) เก็บรักษาที่อุณหภูมิ 4, 25 และ 35 องศาเซลเซียส และติดตามการเปลี่ยนแปลงของค่า %ความชื้น และปริมาณโพลีฟีนอลและเบต้าแคโรทีนในชาดอกเก็กฮวย เป็นเวลา 3 เดือน ผลการทดลองพบว่า วันแรกของการทดลอง ชาดอกเก็กฮวยมี %ความชื้นเริ่มต้นที่ 1.85% ปริมาณโพลีฟีนอล เริ่มต้นที่ 72.0499 mg/gDW และปริมาณเบต้าแคโรทีนเริ่มต้นที่ 8.03 mg/100 mL บรรจุภัณฑ์และภาวะการบรรจุมีผลต่อคุณภาพชาดอกเก็กฮวย โดยพบว่า การเก็บดอกเก็กฮวยอบแห้งในถุงไนล่อนที่เติมแก็สไนโตรเจน (N-PA) สามารถคงคุณภาพของชาดอกเก็กฮวยได้ดีที่สุด รองลงมาคือ ถุง Aluminum foil ถุงไนล่อน (PA) และถุง PE ตามลาดับ และพบว่าการเก็บชาดอกเก็กฮวยที่อุณหภูมิสูงส่งผลให้ปริมาณสารออกฤทธิ์ในชาลดลง
ชาดอกเก๊กฮวยมีองค์ประกอบเป็นสารประเภท volatile ที่มีหน้าที่สาคัญในการเป็นสารออกฤทธิ์ที่ช่วยดูแลรักษาสุขภาพ ได้แก่ Germacrene D เป็นสารในกลุ่ม sesquiterpenoids มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย (anti-mycobacterial activity) และมีสาร sesquiphellandrene และ caryophyllene ที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อจุลชีพ (antimicrobial activity) และ ต่อต้านการติดเชื้อ (anti-infective agents) ส่วนสารที่ออกฤทธิ์ในการต่อต้านอนุมูลอิสระในชาดอกเก็กฮวย ได้แก่ α-Pinene และ β-Sesquiphellandrene ทาให้ชาดอกเก๊กฮวยมีฤทธิ์ทางยาซึ่งเป็นผลมาจากสารออร์แกนิคกลุ่ม volatile ในดอกเก๊กฮวย ส่วนสาร volatile ที่ทาให้ชาดอกเก๊กฮวยมีกลิ่นเฉพาะ ได้แก่ α-Pinene, caryophyllene, Bisabolene, β-Farnesene, D-Limonene และ Germacrene D