Abstract:
ประเทศไทยมีความเหมาะสมทุกด้านในการเลี้ยงผึ้งเพื่อผลิตน้้าผึ้งเอกลักษณ์เฉพาะ เนื่องจากมีความหลากหลายของชนิดผึ้งพื้นเมือง ซึ่งมีถึง 4 ชนิด คือ ผึ้งโพรง (Apis cerana) ผึ้งหลวง (Apis dorsata) ผึ้งมิ้ม (Apis florea) และผึ้งมิ้มเล็ก (Apis andreniformis) โดยเฉพาะผึ้งมิ้มเป็นแมลงผสมเกสรที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถปรับตัวได้ดี มีโรคและศัตรูธรรมชาติน้อย รวมทั้งมีความหลากหลายของพรรณไม้ในป่าเขตร้อนและสมุนไพรพืชหอมที่ส่งผลให้ความหลากหลายของสารชีวภาพมีสูง สมุนไพรพืชหอมเป็นอาหารของผึ้งโดยเป็นแหล่งให้น้้าหวานและเกสร มีสรรพคุณทางยาในด้านการบ้ารุงหัวใจ บ้ารุงโลหิต แก้ท้องเสีย ปวดหัว เจ็บคอ ขับเสมหะ และมีกลิ่นหอมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะชนิด การวิจัยในเรื่องน้้าผึ้งดอกไม้สมุนไพรชนิดต่างๆมีรายงานก่อนหน้านี้ แต่ยังไม่มีรายงานการวิจัยของน้้าผึ้งดอกไม้สมุนไพรพืชหอม อันได้แก่ ดอกดาวกระจาย ดอกเสี้ยว ดอกพิกุล ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณสมบัติทางเคมีกายภาพและสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพของน้้าผึ้งเอกลักษณ์เฉพาะจากดอกไม้สมุนไพรพืชหอมของไทย 3 ชนิด ได้แก่ น้้าผึ้งดอกดาวกระจาย น้้าผึ้งดอกเสี้ยว น้้าผึ้งดอกพิกุล ซึ่งจะเป็นการพัฒนาคุณค่าที่แตกต่างของน้้าผึ้งไทย ความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ทั้งทางด้านรสชาติ กลิ่นและคุณค่าทางยาเพื่อให้เหมาะกับการบริโภคในฐานะอาหารเสริมสุขภาพ ผลการศึกษาในงานวิจัยนี้พบว่าน้้าผึ้งดอกไม้สมุนไพรจากดอกดาวกระจายมีปริมาณฟีโนลิก ฟลาโวนอยด์ กรดแอสคอร์บิก และฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ (DPPH FRAP AEAC) สูงกว่าน้้าผึ้งจากดอกเสี้ยว และดอกพิกุล ตามล้าดับ เมื่อเปรียบเทียบคุณสมบัติดังกล่าวของน้้าผึ้งดอกดาวกระจายกับน้้าผึ้งมานูก้า (นิวซีแลนด์) พบว่า น้้าผึ้งดอกดาวกระจายมีปริมาณฟีโนลิก ฟลาโวนอยด์ กรดแอสคอร์บิก และฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ (DPPH FRAP AEAC) สูงกว่าน้้าผึ้งมานูก้า (นิวซีแลนด์) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าน้้าผึ้งดอกดาวกระจายของไทยมีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระไม่แพ้น้้าผึ้งดอกมานูก้าที่มีชื่อเสียงจากต่างประเทศ