Abstract:
บทคัดย่อ
สาหร่ายปรสิตพืชสกุล Cephaleuros เป็นสาหร่ายที่ก่อให้เกิดโรคจุดสาหร่ายบนพืชอาศัยหลายชนิด โครงสร้างสืบพันธุ์ของ
สาหร่ายเป็นโครงสร้างที่มีความสาคัญต่อการแพร่กระจายของสาหร่าย และการเข้าสู่พืชอาศัย ซูโอสปอร์งอกเส้นใยและเจริญเป็นทัลลัส
ก่อให้เกิดทั้งอาการและหลักฐานทางกายภาพบนพืช และพัฒนาไปเป็นโรคใบจุด เนื่องจากข้อมูลพัฒนาการของโครงสร้างสืบพันธุ์ของ
สาหร่ายในแต่ละฤดูยังไม่มีรายงาน การศึกษาครั้งนี้เพื่อศึกษาปัจจัยทางกายภาพที่มีผลต่อการพัฒนาโครงสร้างสืบพันธุ์ของสาหร่ายสกุล
Cephaleuros บนพืชอาศัยลองกอง ท าการนับและวัดขนาดแกมีแทนเจีย ก้านชูสปอร์สปอแรงเจียของสาหร่าย Cephaleuros sp. บน
ใบลองกอง เปรียบเทียบกับข้อมูลทางกายภาพ ได้แก่ อุณหภูมิความชื้นสัมพัทธ์และปริมาณน้ าฝนเป็นเวลา 12 เดือน ผลการศึกษา
พบว่าแกมีแทนเจียเริ่มปรากฏในเดือนมีนาคม ส่วนก้านชูสปอร์พบในเดือนเมษายน มีการสร้างเซลล์สืบพันธุ์(แกมีทและซูโอสปอร์) ใน
เดือนพฤษภาคมถึงเดือนธันวาคม จากผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าสาหร่าย Cephaleuros sp. มีการสร้างเซลล์สืบพันธุ์และพร้อมที่จะ
เข้าสู่พืชอาศัยในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนธันวาคม ส่วนพัฒนาการของโรคใบจุดอาจพบหลังจากการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ในปีถัดไป ผล
จากงานวิจัยนี้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการป้องกันการระบาดของโรคใบจุดสาหร่าย โดยกรรมวิธีที่เหมาะสมต่อไปในอนาคต
ค าส าคัญ: สาหร่ายปรสิตพืช โครงสร้างสืบพันธุ์ลองกอง โรคใบจุดสาหร่าย
Abstract
Plant parasitic algae genus Cephaleuros is a causal agent of algal spot disease on several host plants. Reproductive
structures of these algae are important for algal distribution and host penetration. Zoospores penetrate into host cells and
develop the thallus, resulting in symptom and sign on plants, and cause leaf spot disease. However, seasonal
development of reproductive structures has been not observed in Thailand before. Therefore, this study aimed to clarify
physical factors and development of reproductive structure of Cephaleuros sp. on longkong leaves. Dimension of
gametangia, sporangiophores and sporangia were measured to compare with physical factors including temperature,
relative humidity and rainfall for 12 month (2015). The results showed that gametangia started to develop on March,
whereas sporangiophores and sporangia occurred on April. Reproductive cells were found for inoculation on May to
December. Disease progress of algal spot may exhibit after release reproductive cells for next year. Our results
demonstrated a basic data which may useful for algal disease management by an appropriate way in near future.
Keywords: Plant parasitic algae, reproductive structure, longkong, algal leaf spot disease