Please use this identifier to cite or link to this item: https://rbkm.kmutt.ac.th/xmlui//handle/123456789/3976
Title: การพัฒนาการเพาะเลี้ยงเห็ดทางยา (Lignosus rhinocerus) แบบฝังกลบเพื่อกระตุ้นการ เจริญและฤทธิ์ทางชีวภาพของเหง้าเห็ดนมเสือ
Other Titles: Development of soil cultivation of medicinal mushrooms (Lignosus rhinocerus) to stimulate the growth and biological activity of tiger milk mushroom sclerotia
Authors: กัลย์ธีรา สุนทราภิรักษ์กุล
ธิดาพร โคตรพัฒน์
Keywords: เห็ด
การเพาะเห็ด
เห็ดนมเสือ
เห็ดทางยา
เหง้าเห็ด
ฤทธิ์ต้านมะเร็ง
Issue Date: 2565
Publisher: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ราชบุรี, 2565
Abstract: เห็ดนมเสือ (L. rhinocerus) เป็นเห็ดทางยาที่มีส่วนดอกเห็ดคล้ายดอกเห็ดหลินจือและมีส่วนหัวใต้ดิน หรือเหง้า (sclerotium) ฝังอยู่ในดิน โดยส่วนเหง้าเห็ดนี้เกิดจากการที่เส้นใยของเห็ดรวมตัวกันเป็นก้อนและมี สารสำคัญ อาทิเช่น โพลีแซคคาไรด์ สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพในกลุ่มสารประกอบฟีโนลิก ฟลาโวนอยด์ ไตรเทอพี นอยด์เป็นต้น ด้วยคุณสมบัติทางยาที่ใช้ในการรักษาโรคมาแต่อดีตโดยเฉพาะโรคระบบทางเดินหายใจ ทำให้เห็ด นมเสือเป็นที่ต้องการ แต่บริเวณที่พบเห็ดนมเสืออยู่ในป่าลึกทึบและปัจจุบันหาได้ค่อนข้างยาก คณะผู้วิจัยจึงมี แนวคิดในการพัฒนาการเพาะเลี้ยงเห็ดนมเสือแบบฝังกลบก้อนเห็ดนมเสือที่มีเชื้อเดินเต็มด้วยวิธีการเลียนแบบ ธรรมชาติเพื่อกระตุ้นการเจริญและฤทธิ์ทางชีวภาพของเหง้าเห็ดนมเสือ โดยปัจจัยที่ทำการศึกษา ได้แก่ วัสดุฝัง กลบ ขนาดก้อนเห็ดที่ใช้ฝังกลบ ลักษณะการจัดเรียงก้อนเห็ด การใช้สารประกอบซีลีเนียมและกลีเซอรอลในการ เป็นสารกระตุ้น รวมถึงวิธีการสกัดสารจากเหง้าเห็ดนมเสือ ผลการวิจัยพบว่าการสกัดด้วยน้ำร้อนให้ปริมาณสาร สกัด กรดฟีโนลิก ฟลาโวนอยด์ โพลีแซคคาไรด์และประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระสูงที่สุด ไตรเทอร์พีนอยด์ พบปริมาณมากที่สุดในสารที่สกัดด้วยเอทานอล สารที่สกัดด้วยน้ำเย็นมีประสิทธิภาพในการต้านการอักเสบและ ต้านมะเร็งปอดและเต้านมสูงกว่าการสกัดด้วยเอทานอลและน้ำร้อน นอกจากนี้ยังพบว่าปัจจัยที่ใช้ในการเพาะเลี้ยง เห็ดนมเสือแบบฝังกลบแตกต่างกันย่อมส่งผลต่อลักษณะการเจริญของเหง้า ชนิดสารสำคัญ ปริมาณสารสำคัญ และฤทธิ์ทางชีวภาพให้มีความแตกต่างกันไป
URI: https://modps76.lib.kmutt.ac.th/xmlui//handle/123456789/3976
Appears in Collections:Research



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.