Please use this identifier to cite or link to this item: https://rbkm.kmutt.ac.th/xmlui//handle/123456789/3818
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorผศ.ดร. พรพรรณ สิระมนต์-
dc.contributor.authorผศ.ดร. วิชาญ เอียดทอง-
dc.contributor.authorผศ.ดร. ธิติมา วงษ์ชีรี-
dc.contributor.authorผศ.ดร. รัตติยา แววนุกูล-
dc.date.accessioned2022-04-26T08:52:48Z-
dc.date.available2022-04-26T08:52:48Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttps://modps76.lib.kmutt.ac.th/xmlui//handle/123456789/3818-
dc.description60 หน้า-
dc.description.abstractงานวิจัยนี้ได้ทำการสำรวจ และรวบรวมตัวอย่างพืชสมุนไพรจำนวน 9 ชนิด จากป่าเต็งรังภายในรัศมี 50 กิโลเมตร รอบ มจธ. ราชบุรี เพื่อคัดเลือกพืชที่มีศักยภาพจำนวน 5 ชนิด สำหรับสกัดใช้เป็นสารสำคัญในการ พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เวชสำอาง 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผลิตภัณฑ์ดูแลผิวพรรณ และกลุ่มผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผม ในการศึกษาเพื่อคัดเลือกพืชที่มีศักยภาพนั้น จะเริ่มจากการสกัดตัวอย่างโดยวิธีการแช่ด้วยตัวทำละลาย เอทานอลความเข้มข้นต่างๆ เพื่อหาความเข้มข้นของตัวทำละลายที่เหมาะสมสำหรับใช้ในการสกัดตัวอย่างพืช แต่ละชนิด โดยเลือกใช้ความเข้มข้นของเอทานอลที่ 3 ระดับ คือ 50% 70% และ 95% (v/v) และทำการสกัด ตัวอย่างที่ 30 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 72 ชั่วโมง แล้วจึงตรวจวิเคราะห์ปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด (total phenolic content) ที่สกัดได้จากสภาวะต่างๆ จากนั้นจึงทำการทดสอบความสามารถในการต้านอนุมูล อิสระของสารสกัดหยาบที่ได้โดยวิธี DPPH และ ABTS และเปรียบเทียบความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ กับ ส ารม าต รฐาน Butylated hydroxytoluene (BHT) แล ะ Alpha-tocopherol (Vitamin E) จ าก ผ ล การศึกษาพบว่า การสกัดตัวอย่างพืชจำนวน 7 ตัวอย่าง ได้แก่ กระทือ (เหง้า) ต้นสามสิบ (ราก) เปราะหอม (เหง้า) ว่านนางคำ (เหง้า) ขมิ้นอ้อย (เหง้า) ปอเต่าไห้ (ใบ, เปลือกลำต้น) และน้อยหน่า (ใบ) โดยใช้ตัว ทำละลาย 50% (v/v) เอทานอล สามารถให้ผลผลิตสารสกัด และปริมาณฟีนอลิกที่สกัดได้สูงสุด ส่วน 70% (v/v) เอทานอล เป็นตัวทำละลายที่เหมาะสมในการสกัดหญ้าพังโหม (ใบ) และต้นหมี่ (ใบ) เมื่อวิเคราะห์ ความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดหยาบที่สกัดได้จากตัวทำละลายที่เหมาะสมของพืชแต่ละชนิด พบว่าสารสกัดตัวอย่างทั้งหมดมีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระน้อยกว่าสารมาตรฐาน BHT และ Vitamin E จากผลการวิเคราะห์ปริมาณสารประกอบฟีนอลิก และความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระของสาร สกัดที่ได้จากพืชแต่ละชนิด สามารถคัดเลือกพืชที่มีศักยภาพสำหรับนำมาผลิตสารออกฤทธิ์ทางเวชสำอางได้ จำนวน 5 ชนิด คือ ว่านนางคำ (เหง้า) หญ้าพังโหม (ใบ) ต้นหมี่ (ใบ) ปอเต่าไห้ (ใบ) และน้อยหน่า (ใบ) จากนั้น ได้ทำ การวิเคราะห์องค์ประกอบ หลักของสารสกัดห ยาบ ที่ได้จากพืชแต่ละชนิดด้วยเครื่อง Liquid Chromatography - Mass Spectrometer (LC-MS) แล้วจึงนำสารสกัดที่ได้ (สารสกัดเหง้าว่านนางคำ และ สารสกัดใบหมี่) มาทำการพัฒนาสูตรเป็นผลิตภัณฑ์ใน 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผลิตภัณฑ์ดูแลผิวพรรณ และกลุ่ม ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผม จำนวน 3 ผลิตภัณฑ์ ซึ่งได้แก่ (1) เจลอาบน้ำผสมสารสกัดว่านนางคำ (2) แชมพู และ (3) ครีมนวดผม ผสมสารสกัดใบหมี่ และเมื่อทำการทดสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่ได้พบว่า ผลิตภัณฑ์ทุกตัวผ่าน ตามเกณฑ์มาตรฐานอุตสาหกรรมเอส-
dc.sourceสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)-
dc.subjectKMUTT research reports-
dc.subjectสมุนไพร-
dc.subjectเวชสำอาง-
dc.subjectป่าเต็งรัง-
dc.titleการพัฒนาผลิตภัณฑ์เวชสำอางธรรมชาติจากทรัพยากรพืชในป่าเต็งรังพื้นที่ มจธ.ราชบุรี-
dc.typeResearch Report-
Appears in Collections:Research



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.