Please use this identifier to cite or link to this item: https://rbkm.kmutt.ac.th/xmlui//handle/123456789/1593
Title: ผลของเถ้าลอยจากโรงไฟฟ้าจังหวัดลำปาง ราชบุรี และระยอง ที่มีผลต่อสมบัติเชิงกลและความต้านทานการสึกหรอของวัสดุเชิงประกอบพอลิอีเทอร์อีเทอร์คีโตน
Authors: นริศตา น้อยฉ่ำ
Issue Date: 2554
Abstract: งานวิจัยนี้ได้ศึกษาผลของแหล่ง และปริมาณเถ้าลอยที่มีต่อสมบัติเชิงกล และความต้านทานการสึก หรอของวัสดุเชิงประกอบเถ้าลอย / พอลิอีเทอร์อีเทอร์คีโตนโดยนำเถ้าลอยจากแหล่งต่าง ๆ ได้แก่ จ.ราชบุรี และ จ.ระยอง ปริมาณร้อยละ 30 โดยน้ำหนัก และเถ้าลอย จ.ลำปาง ปริมาณร้อยละ 10, 20 และ 30 โดยน้ำหนัก ผสมกับพอลิอีเทอร์อีเทอร์คีโตน นำมาอัดขึ้นรูปร้อนเป็นวัสดุเชิงประกอบเถ้า ลอย/พอลิอีเทอร์คีโตน ผลการทดลองพบว่า การเติมเถ้าลอย และ การเพิ่มปริมาณเถ้าลอยทำให้ วัสดุเชิงประกอบมีความมีความแข็งแกร่งมากขึ้น ส่งผลให้ค่าความแข็ง อิลาสติกมอดุลัส และมอดุลัสการดัด งอมีค่าเพิ่มสูงขึ้นโดยเถ้าลอย จ. ระยอง ทำให้วัสดุเชิงประกอบมีความแข็งแกร่งมากที่สุด นอกจากนี้ การเติมเถ้าลอย และปริมาณเถ้าลอยที่ลอยเพิ่มขึ้นทำให้วัสดุเชิงประกอบมีความแข็งเปราะมากขึ้น ส่งผล ให้ระยะยืดตัว ณ จุดขาด และความต้านทานต่อการกระแทกมีค่าลดลงโดยเถ้าลอย จ. ระยอง ทำให้ วัสดุเชิงประกอบมีความมีความแข็งเปราะมากที่สุด ทั้งนี้ ผลของแหล่งเถ้าลอยยังไม่ส่วงผลต่อความ ต้านทานแรงดึง และความต้านทานต่อแรงดัดงอของวัสดุเชิงประกอบ สำหรับความต้านทานการสึกหรอ พบว่า การเติมเถ้าลอยสามารถเพิ่มความต้านทานการสึกหรอให้กับวัสดุเชิงประกอบพอลิอีเทอร์อีเทอร์คีโตนได้ โดยการเติมเถ้าลอย จ. ลำปางมีอัตราการสึกหรอน้อยที่สุด รองลงมาเป็น เถ้าลอย จ. ราชบุรี และ จ. ระยอง ตามลำดับเนื่องจากเถ้าลอย จ.ลำปาง ทำให้เกิดทรานสเฟอร์ฟิล์มระหว่างการทดสอบได้ จาก การศึกษาปัจจัย ในการทดสอบความต้านทานการต้านทานการสึกหรอ พบว่า การเพิ่มน้ำหนักกด และระยะทางในการทดสอบ ทำให้การสึกหรอกของวัสดุเชิงประกอบเถ้าลอย จ. ลำปาง / พอลิอีเทอร์คีโตนมีแนวโน้มสูงขึ้น
URI: https://modps76.lib.kmutt.ac.th/xmlui//handle/123456789/1593
Appears in Collections:Research

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.